วันจันทร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2561

ชาวบ้านอ.บ้านแพ้วร้องมีผู้ลักลอบทิ้งตะกรันอะลูมิเนียม หวั่นสารพิษ
ชาวบ้านในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ร้องเรียนกับฝ่ายปกครองว่า มีผู้ลักลอบนำตะกรันอะลูมิเนียม 13 กระสอบมาทิ้งไว้ เจ้าหน้าที่จึงลงพื้นที่ตรวจสอบกากอุตสาหกรรมประเภทตะกรันอะลูมิเนียม หลังชาวบ้านร้องเรียนว่ามีผู้ลักลอบนำมาทิ้งไว้บริเวณริมถนนสายหลักสี่-ยกกระบัตร ตำบลยกกระบัตร โดยพบทั้งหมด 13 กระสอบ แต่ละกระสอบมีผงตะกรันอะลูมิเนียมลักษณะสีขาวเทาบรรจุเต็มทุกกระสอบ พร้อมกับส่งกลิ่นเหม็น นอกจากนี้หากเข้าไปใกล้ หรือไม่ก็สัมผัสจะมีอาการแสบตา-แสบจมูกตำรวจอยู่ระหว่างประสานเจ้าของที่ดินในจุดที่พบการทิ้งตะกรันอะลูมิเนียมมาสอบปากคำ เพื่อจะได้รู้ว่าตะกรันอะลูมิเนียมถูกทิ้งอยู่ในที่ดินได้อย่างไร อาจลักลอบนำมาทิ้ง หรือมีผู้ติดต่อขอเช่าที่มาวางทิ้ง นอกจากนี้ยังประสานให้เจ้าหน้าที่สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประจำจังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด เข้ามาตรวจสอบ เพื่อดูผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งแวดล้อม และชาวบ้านที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงตะกรันอะลูมิเนียม เป็นกากอุตสาหกรรมประเภทหนึ่ง ต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้สัมผัสกับน้ำและความชื้น หากต้องกำจัดด้วยวิธีฝังกลบ ควรผ่านกระบวนการตรวจวิเคราะห์ พร้อมปรับสภาพให้ปราศจากการตกค้างของสารอันตราย ก่อนนำไปฝังกลบอย่างปลอดภัย หากเป็นไปตามนี้ เป็นไปได้ว่าตะกรันอะลูมิเนียมที่พบในจังหวัดสมุทรสาคร อาจเกิดความตั้งใจลักลอบทิ้ง หรือไม่ก็ตั้งใจนำมาฝังกลบ โดยไม่เข้าสู่กระบวนกำจัดอย่างถูกวิธีเพื่อลดต้นทุน
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ลักลอบทิ้ง ตะกรันอลูมิเนียม

สารเคมีอันตรายรั่วคนงานดูปองท์ตาย4

    สารเคมีอันตรายรั่วคนงานดูปองท์ตาย4 ในโรงงานที่เมืองลาพอร์ท รัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐ      สาร "เมทิล เมอร์แคปแทน" ซึ่งเป็นอันตรายอย่างมากต่อระบบประสาทส่วนกลาง ได้เกิดหกที่โรงงานดูปองท์ในเมืองลาพอร์ท รัฐเทกซัส ประเทศสหรัฐ เมื่อช่วงเช้าวันเสาร์ตามเวลาท้องถิ่น ส่งผลให้คนงานเสียชีวิต 4 คน ได้รับบาดเจ็บจนต้องถูกนำตัวส่งโรงพยาบาลอีก 1 คน โดยผู้จัดการโรงงานบอกว่าจะร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ในการสอบสวนหาสาเหตุครั้งนี้ ซึ่งปัจจุบันนี้ยังไม่ทราบว่าเกิดจากอะไร ส่วนสาร "เมอร์แคปแทน" นั้นเป็นสารที่ใช้เติมเพื่อให้เกิดกลิ่นในก๊าซอันตรายบางชนิด ทั้งยังใช้ในกระบวนการผลิตสารกำจัดศัตรูพืช เชื้อเพลิงเครื่องบินไอพ่น พลาสติก และสารเคมีอินทรีย์ประเภทต่างๆ ด้วย


มกอช.ดันมาตรฐานคะน้า ลดข้อกังขาผักอาบสารพิษ

          นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เผยถึงปัญหาการสุ่มตรวจหาสารตกค้างเกินมาตรฐานในพืชผักคะน้า มักติดโผตลอด เพราะหากการจัดการแปลงปลูกไม่ดี ดูแลไม่ทั่วถึง ไม่ได้ปลูกแบบกางมุ้ง เพียงแค่ชั่วข้ามคืนคะน้าใบอ่อนๆที่ใกล้ตัดขาย จะกลายเป็นโรงอาหารให้หนอนและแมลงศัตรูพืชมารุมทึ้งกัดกินใบ “การแก้ปัญหาชาวสวนมักจะใช้วิธีฉีดพ่นยา เพียงชั่วข้ามคืนจะถูกเร่งตัด ส่งขายตลาดเป็นอันตรายทั้งคนปลูกและผู้บริโภค ทั้งๆที่เป็นพืชผักที่ได้รับความนิยมสูงแต่ละปีเกษตรกรไทยผลิตผักคะน้าป้อนตลาดได้ประมาณมากถึง 700,000-800,000 ตัน แต่ประเทศไทยไม่เคยมีการจัดทำเกณฑ์ทั้งด้านคุณภาพและความปลอดภัยที่เป็นมาตรฐาน เลยทำให้การสุ่มเก็บตัวอย่างทุกครั้ง จึงมีคะน้าติดโผเป็นพืชผักที่มีสารพิษปนเปื้อนมาโดยตลอด”ดยได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย พร้อมทำประชาพิจารณ์รับฟังความคิดเห็นจากเกษตรกร เพื่อนำข้อมูลมาปรับปรุงร่างมาตรฐาน ให้สามารถนำไปปฏิบัติได้ และการประกาศใช้มาตรฐานผักคะน้า คาดว่าภายในปี 2561 เพื่อให้คะน้าจากไทยจะไม่ติดโผสารตกค้างอีกต่อไป.

ผลสำรวจสารเคมีปนเปื้อนผัก-ผลไม้พบ "พริกแดง-ส้มสายน้ำผึ้ง-ฝรั่ง" สารพิษตกค้างมากสุด

                เครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช หรือ Thai-PAN เผยผลสำรวจสารเคมีปนเปื้อนจากการสุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้ พบว่าพริกแดง ส้มสายน้ำผึ้ง และฝรั่ง มีสารพิษตกค้างมากที่สุดเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีกำจัดศัตรูพืช เปิดเผยผลสำรวจสารเคมีปนเปื้อนจากการสุ่มเก็บตัวอย่างผักและผลไม้ที่ประชาชนนิยมบริโภค พบว่า พริกแดง มีสารพิษตกค้างมากที่สุดร้อยละ 100 ส่วนผลไม้ พบว่า ส้มสายน้ำผึ้งและฝรั่ง มีสารพิษตกค้างมากที่สุดเท่ากันคือ ร้อยละ 100 ส่วนกะหล่ำปลีและแตงโมตรวจไม่พบว่ามีสารเคมีตกค้างสารเคมีที่ถูกพบส่วนหนึ่งคือ สารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ถูกห้ามใช้แล้ว ไม่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนรวม 11 ชนิด เช่น คาร์โบฟูราน เมโทมิล หรือสารดีท ที่เป็นส่วนประกอบของยากันยุง สารพิษเหล่านี้เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะสร้างอันตราย เช่น คาร์โบฟูราน เป็นสารก่อมะเร็งการตรวจพบสารเคมีตกค้างในผักและผลไม้ในปี 2559 ไทยแพนเรียกร้องให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ปฏิรูปการให้ตรารับรองคิวและออร์แกนิคไทยแลนด์อย่างจริงจังด้วย เพราะอาจทำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือในตรารับรอง
ผลสำรวจสารเคมีปนเปื้อนผัก-ผลไม้พบ "พริกแดง-ส้มสายน้ำผึ้ง-ฝรั่ง" สารพิษตกค้างมากสุด

สารเคมีรั่วไหลจากหลุมฝังกลบขยะที่รัสเซีย
             เจ้าหน้าที่ตำรวจในเขตโวโลโกลามสก์ (Volokolamsk) ชานกรุงมอสโก ของรัสเซีย เปิดเผยว่า เกิดการรั่วไหลของสารเคมีจากหลุมฝังกลบขยะในพื้นที่ ทำให้มีรายงานเด็กป่วยด้วยอาการคลื่นไส้ ปวดศีรษะ และเป็นลม อย่างน้อย 57 คน โดยต้องนำตัวส่งโรงพยาบาล เพื่อรับการรักษาหลังสูดดมสารพิษ เบื้องต้น เจ้าหน้าที่สั่งอพยพประชาชนไปยังที่ปลอดภัยแล้ว พร้อมจะเร่งตรวจหาสาเหตุ รวมถึงประเมินสภาพความปลอดภัย ขณะที่ประชาชนในพื้นที่ร้องเรียนให้มีการปิดหลุมฝังกลบขยะดังกล่าว
ทันที เพื่อป้องกันอันตราย
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ข่าวสารเคมี ต่างประเทศที่หลุมฝังกลบขยะที่รัสเซีย


แตกตื่น! ม.ออสซี่อพยพ นึกว่าสารเคมีรั่ว ที่แท้กลิ่นทุเรียนเน่า
                     เจ้าหน้าที่อพยพผู้คนออกจากมหาวิทยาลัยในเมลเบิร์น ออสเตรเลีย หลังมีผู้ได้กลิ่นเหม็นจนนึกว่าสารเคมีรั่ว แต่โอละพ่อ ต้นตอของกลิ่นกลับมาจากทุเรียนเน่าเมื่อ 29 เม.ย. ว่า เกิดสถานการณ์วุ่นวายขึ้นที่มหาวิทยาลัยราชสถาบันเทคโนโลยีเมลเบิร์น (RMIT) ในออสเตรเลีย หลังจากนักศึกษาและเจ้าหน้าที่หลายคนได้กลิ่นเหม็นเหมือนสารเคมีรั่วภายในห้องสมุด จนตำรวจและเจ้าหน้าที่ดับเพลิงต้องดำเนินการอพยพอาจารย์และนักศึกษากว่า 500 คนเพื่อความปลอดภัยทำให้เจ้าหน้าที่ต้องอพยพผู้คนและสืบสวนหาที่มาของกลิ่น และพบความจริงว่า ต้นตอของกลิ่นเหม็นดังกล่าวไม่ได้มาจากสารเคมีใดๆ แต่เป็นกลิ่นทุเรียนเน่าที่ฟุ้งกระจายออกจากตู้เก็บของที่ถูกเปิดทิ้งเอาไว้ต่างหาก ล่าสุด เจ้าหน้าที่จัดการกับต้นตอของกลิ่นแล้ว และอาคารต่างๆ ก็สามารถกลับมาเปิดทำการได้อีกครั้ง



คาดสารรั่วทำโรงงานเม็กซิโกระเบิด-ยอดตายพุ่ง 13 ศพ

เหตุระเบิดที่โรงงานปิโตรเคมีภายในโรงกลั่นน้ำมันของบริษัท พีเม็กซ์ ในเมืองทางใต้ของเม็กซิโกล่าสุดทำให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 13 ราย โดยสาเหตุระเบิดคาดว่าเกิดจากการรั่วไหลของสารติดไฟได้ทั้งนี้ เหตุระเบิดที่โรงงานปิโตรเคมี เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 15.15 น. วันพุธตามเวลาท้องถิ่น โดยแรงระเบิดสามารถรู้สึกได้แม้ห่างออกไปถึง 10 กม. ทำให้เกิดไฟลุกไหม้รุนแรง ส่งควันดำหนาทึบลอยปกคลุมท้องฟ้า ก่อนเจ้าหน้าที่จะสามารถควบคุมเพลิงได้ในช่วงเย็นวันเดียวกัน ขณะที่ทางการสั่งให้ผู้ที่อาศัยใกล้กับโรงงานนับพันคนอพยพออกจากพื้นที่ และประกาศเตือนให้ประชาชนอยู่แต่ในที่ร่มเพื่อหลบควันไฟซึ่งอาจมีพิษ 



                   สารเคมีรั่วควันสีแดงปกคลุมทั่วท้องฟ้า ประเทศจีน

            (11 พ.ค. 61) สารโบรมีน (Bromine) รั่วไหลจากโรงงานแห่งหนึ่ง ในเมืองโซ่วกวง มณฑลซานตง ประเทศจีน ส่งผลให้มีกลุ่มควันสีแดงพวยพุ่งขึ้นสู่ท้องฟ้าเป็นจำนวนมากตามรายงานระบุว่า เหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากถังเก็บสารโบรมีนเกิดเอียง ทำให้สารละลายด้านในรั่วไหลออกมา จนเกิดกลุ่มควันปกคลุมเหนือโรงงานลักษณะสีแดงฉานสำหรับสารโบรมีนเป็นสารเคมีซึ่งมีสถานะเป็นของเหลวสีแดง ระเหยง่ายที่อุณหภูมิห้อง มีความไวต่อปฏิกิริยาเคมี และมีกลิ่นเหม็นตามชื่อเรียกในภาษากรีก (Bromos) โดยสารเคมีชนิดนี้เป็นอันตรายเพราะก่อให้เกิดการระคายเคืองเนื้อเยื่อมนุษย์ เช่น ไอระเหยจะทำให้เกิดอาการแสบตา หลอดลมและเยื่อจมูกอักเสบ หากสัมผัสจะเกิดอาการคัน โบรมีนจะถูกใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น ผลิตน้ำมันเชื้อเพลิง ยอมและฟอกสี พลาสติก เภสัชภัณฑ์ เป็นต้น

พบสารเคมีรั่วที่ซอยกรุงเทพกรีฑา 35เจ้าหน้าที่เร่งตรวจสอบ

             (18 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งเหตุพบสารเคมีถูกทิ้งลงแหล่งน้ำ บริเวณหน้า บริษัท คอมฟอร์ม 
เบื้องต้นเจ้าหน้าที่พร้อมนำเครื่องตรวจวัดสารเคมีเพื่อตรวจสอบ พบเป็นสารเคมีรั่วไหลออกมากจากบริษัท คอมฟอร์ม จำกัด ลงไปที่บริเวณบ่อระบายน้ำด้านหน้าบริษัทจำนวน 3 บ่อ ทำให้น้ำในบ่อที่ 1 และบ่อที่ 2 ลักษณะของน้ำเป็นสีชมพู และบ่อที่ 3 ลักษณะเป็นสีดำมีคราบน้ำมันปะปน จากการตรวจสอบพบเป็นสาร Kerosene ลักษณะเป็นของเหลวไวไฟ มีคุณสมบัติกัดกร่อน pH5 กระจายตัวในท่อระบายน้ำหน้าโรงงานประมาณ 200 เมตร ในเบื้องต้นเจ้าหน้าที่ใช้กระดาษซับสารที่อยู่บริเวณผิวหน้าและตักใส่ถุง และใช้สารสลายคราบไขมันฉีดพ่น เพื่อกำจัดคราบสารเคมีและป้องกันชาวบ้านไม่ให้เข้ามาในบริเวณนั้นๆ
699765-01
หนุ่มคลั่งบุกทุบห้องสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลพังเละสารเคมีเกลื่อนห้องhttps://news.mthai.com/general-news/630089.htmlหวิดดับคาสารเคมี
          เมื่อวันที่่31มี.ค.61 มีคนคลุ้มคลั่งบุกเข้ามาภายในสถาบันวิทยาศาสตร์ทางทะเลบางแสนและทุบกระจกแตกหลายจุด เจ้าหน้าที่จึงรีบไปตรวจสอบพร้อมกับ รปภ. พบชายอายุประมาณ 25 ปีอยู่ในอาการคล้ายคนเมายาโดยเจ้าหน้าที่ รปภ.พยายามเข้าไปใกล้หนุ่มคนดังกล่าวก็มีอาการตื่นตกใจและวิ่งหนีเข้าไปภายในห้อง จุลชีว ซึ่งเป็นห้องสารเคมีและห้องเก็บตัวอย่างสัตว์ทะเลและพืชชนิดต่างๆ รวมถึงมีอุปกรณ์ต่างๆเครื่องตรวจสภาพน้ำและอื่นๆ ซึ่งบางอย่างมีราคาแพงเพราะต้องสั่งซื้อจากต่างประเทศ โดยชายคนดังกล่าวทุบกระจกและเข้าไปภายในห้องและทุบทำลายข้าวของทุกอย่างจนพังเละ ส่วนชายคนดังกล่าวได้รับบาดเจ็บถูกกระจกบาดที่มือจนเลือดไหลนองเต็มห้อง
เจ้าหน้าที่พยายามจะเข้าไปควบคุมตัวแต่เข้าไปไม่ได้ เนื่องจากห้องดังกล่าวเป็นห้องเก็บสารเคมีซึ่งมีกลิ่นแรงมากไม่สามารถเข้าไปได้ แต่ชายคนนี้เกรงจะเสียชีวิต เพราะสารเคมีมีกลิ่นแรงมาก รปภ.จึงจะพยายามเข้าไปช่วย จนกระทั่งชายคนดังกล่าวพยายามเดินออกมาและนอนอยู่หน้าห้องหัวหน้า รปภ.จึงพยายามเข้าไปเกลี้ยกล่อมจนกระทั่งชายคนดังกล่าวยอมออกมาจากห้อง ชายคนดังกล่าวมีอาการพูดจาไม่รู้เรื่อง มีบาดแผลที่แขนและมือ จากการสอบถามทราบว่าชื่อนายพิทักษ์ อายุ 26 ปี เป็นคนจังหวัดหนองบัวลำภู มาทำงานก่อสร้าง รปภ.จึงรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล ต่อไป

วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2561


4 อาชีพเสี่ยง "โรคผิวหนังจากสารเคมี"

โรคผิวหนัง จากสารเคมี

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคผิวหนังที่เกิดจากสารเคมี เป็นโรคที่พบบ่อยมากในกลุ่มผู้ที่ทำงานก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพเกษตรกรรม เนื่องจากปัจจุบันมีการใช้วัสดุและสารเคมีที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังอย่างแพร่หลาย มีการใช้งานที่ไม่เหมาะสม หรือหากสัมผัสถูกผิวหนังโดยตรงโดยไม่มีเครื่องป้องกัน จะทำให้เกิดการระคายเคืองเกิดผื่นคันภูมิแพ้ที่ผิวหนัง และอาจเป็นโรคผิวหนังได้
 อาชีพเสี่ยงโรคผิวหนังจากสารเคมี
  1. คนงานก่อสร้างที่ผสมปูนซีเมนต์
  2. คนงานในโรงงานที่เกี่ยวข้องกับโลหะ เครื่องหนัง ยางสีย้อมผ้า กาวพลาสติก เส้นใยแก้ว สีพ่น รวมทั้งน้ำมันเบนซิน และน้ำมันเครื่อง
  3. คนที่ต้องทำงานสัมผัสกับอุปกรณ์ที่ทำจากโลหะชุบนิกเกิล งานอุตสาหกรรมทำเครื่องหนัง ดอกไม้พลาสติก
  4. เกษตรกรที่ต้องใช้ปุ๋ยสารกำจัดแมลงศัตรูพืช
 วิธีป้องกันโรคผิวหนังจากสารเคมี ผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าวข้างต้นควรดูแลสุขภาพของตนเอง โดยเฉพาะผู้ที่เป็นภูมิแพ้ควรระวังเป็นพิเศษ โดยสวมอุปกรณ์ป้องกันสารเคมีก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เช่น สวมถุงมือที่ทำจากวัสดุพีวีซีหรือยาง ใช้ผ้ากันเปื้อน หรือสวมชุดป้องกัน เป็นต้นโดยเลือกใช้อุปกรณ์ให้เหมาะสมกับงาน หากมีอาการแพ้หรือมีผื่นคันขึ้นตามผิวหนังให้รีบพบแพทย์ เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยและรับการรักษาต่อไป
ที่มาhttps://www.sanook.com/health/11653/https://www.sanook.com/health/11653/

ข้อควรปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ

  1. ต้องระลึกอยู่เสมอว่า ห้องปฏิบัติการทดลองเป็นสถานที่ทำงาน ต้องทำการทดลองด้วยความตั้งใจ
  2. ต้องอ่านคู่มือห้องปฏิบัติการทดลองก่อนที่จะห้องปฏิบัติการทดลอง และพยายามทำความเข้าใจถึงขั้นตอนการทดลอง หากไม่เข้าใจให้ถามอาจารย์ผู้ควบคุมก่อนการทดลอง
  3. อุปกรณ์ต่าง ๆ ที่นำมาใช้ในการทดลองต้องสะอาด ความสกปรกเป็นปัจจัยสำคัญทำให้ผลการทดลองผิดพลาด
  4. เมื่อต้องการใช้สารละลายที่เตรียมไว้ ต้องรินลงในบีกเกอร์ โดยรินออกมาประมาณเท่ากับจำนวนที่ต้องใช้ ถ้าสารละลายเหลือให้เทลงในอ่าง อย่าเทกลับลงในขวดเดิม
  5. ถ้ากรดหือสารเคมีที่เป็นอันตรายถูกผิวหนังหรือเสื้อผ้าต้องรีบล้างด้วยน้ำทันทีเพราะสารเคมีหลายชนิดซึมเข้าไปผิวหนังอย่างรวดเร็ว และเกิดเป็นพิษขึ้นมาได้
  6. อย่าเทน้ำลงบนกรดเข้มข้นไดๆ แต่ค่อย ๆ เทกรดเข้มข้นลงในน้ำช้า ๆ พร้อมกวนตลอดเวลา
  7. เมื่อต้องการดมสาเคมี อย่าดมโดยตรง ควรใช้มือพัดกลิ่นสารเคมีเข้าจมูกเพียงเล็กน้อย (อย่าสูดแรง)
  8. ออกไซด์ ของธาตุบางชนิดเป็นพิษหรือสารที่ไวต่อปฏิกิริยาหือสารที่มีกลิ่นเหม็น การทดลองได ๆ ที่เกี่ยวข้องกับก๊าซนี้ควรทำในตู้ควัน
  9. อย่ากินอาหารในห้องปฏิบัติการ เพราะอาจมีสารเคมีปะปน ซึ่งสารเคมีบางชนิดอาจมีพิษหรือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
  10. ต้องทำการทดลองด้วยความระมัดระวังที่สุด ความประมาทเลินเล่ออาจทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเองได้
          

การใช้สารเคมีในห้องปฏิบัติการอย่างปลอดภัย

สารเคมีทุกชนิดมีอันตรายมากน้อยแตกต่างกัน ผู้ปฏิบัติการทดลองทางเคมีควรที่จะต้องรู้ถึงอันตรายจากสารเคมีเหล่านี้ วิธีที่จะช่วยลดอันตรายจากสารเคมีได้คือ ถ้าเป็นไปได้พยายามหลีกเลี่ยงสารที่เป็นพิษ ถ้าจำเป็นต้องใช้ควรใช้อย่างระมัดระวัง เช่น การใช้กรดเข้มข้นในการทดลองจะต้องเทในตู้ควัน
อันตรายจากสารเคมีต่อสุขภาพของคนเกิดจากสารเคมีเข้าไปในร่างกาย ซึ่งเข้าได้ 3 ทาง คือ ทางปาก ทางจมูก และทางผิวหนัง สารเคมีบางชนิดเมื่อเข้าไปในร่างกายอาจทำลายได้บางชนิด อาจถูกขับออกทางปัสสาวะ บางชนิดอาจทำปฏิกิริยากับสารอื่น ๆ ได้สารใหม่เกิดขึ้นและและออกฤทธิ์เมื่อมีความเข้มข้นมากพอ ด้วยเหตุนี้การใช้สารเคมีจึงจำเป็นต้องศึกษาให้เข้าใจถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น เพื่อหาทางป้องกันไว้ก่อน

ทักษะการเทสารเคมี

เทคนิคการเทของเหลวหรือสารละลายออกจากบีกเกอร์หรือภาชนะอื่น ๆ

การเทของเหลวหรือสารละลายที่อยู่ในบีกเกอร์หรือภาชนะอื่น ๆ ลงในภาชนะอีกชนิดหนึ่ง มีวิธีทำดังนี้
  1. ถือแท่งแก้วคนให้สัมผัสปากของบีกเกอร์บริเวณที่จะให้สารละลายไหลออก
  2. เอียงบีกเกอร์เพื่อให้สารละลายไหลลงมาตามแท่งแก้วคนลงสู่ภาชนะรองรับ
  3. ลักษณะการใช้แท่งแก้วคนในการเทของเหลวหรือสารละลายออกจากบีกเกอร์หรือภาชนะอื่น ๆ
  4. เมื่อได้ปริมาณของของเหลวตามต้องการแล้วให้ถือบีกเกอร์แนวตั้งฉากกับพื้นและให้ของเหลวจากปากบีกเกอร์ไหลลงไปตามแท่งแก้วคนจนหมด

เทคนิคการถ่ายเทสารละลายจากปิเปตหรือหลอดหยด

เทคนิคการถ่ายเทสารละลายที่อยู่ในปิเปตหรือหลอดหยดลงในภาชนะที่บรรจุสารละลายอีกชนิดหนึ่งหากไม่รู้วิธีการที่ถูกต้องอาจเกิดผลเสียต่อการทดลอง วิธีการที่ถูกต้องควรทำดังนี้

  1. ทำให้ปิเปตหรือหลอดหยดมีสารละลายอยู่เต็ม
  2. ถือปิเปตหรือหลอดหยดอยู่เหนือสารละลายที่ต้องการจะเติมสารในปิเปตหรือหลอดหยดลงไป ระวังอย่าให้ปลายปิเปตหรือหลอดหยดจุ่มอยู่ในสารละลาย เพราะจะทำให้สารละลายปะทะกัน
    ค่อย ๆ ปล่อยให้สารละลายในปิเปตหรือหลอดหยดไหลลงไป

ทักษะการใช้เครื่องแก้ววัดปริมาตร

อุปกรณ์วัดปริมาตรของเหลวได้แก่ ขวดปริมาตร บิวเรตต์ ปิเปต และกระบอกตวง การอ่านปริมาตรของเหลวที่ถูกต้องในอุปกรณ์เหล่านี้ ต้องอ่านในระดับเดียวกับจุดต่ำสุดของส่วนโค้งเว้า
ตำแหน่งของระดับสายตาในการอ่านปริมาตร มีความสำคัญต่อค่าที่ได้จากการอ่านปริมาตรมากกล่าวคือ

  1. ถ้าระดับสายตาอยู่เหนือส่วนโค้งเว้าต่ำสุดของของเหลว ปริมาตรที่อ่านจะมากกว่าปริมาตรจริง
  2. ถ้าระดับสายตาอยู่ระดับเดียวกับส่วนโค้งเว้าต่ำสุดของของเหลว ปริมาตรที่อ่านจะมีค่าถูกต้อง
  3. ถ้าระดับสายตาอยู่ต่ำกว่าส่วนโค้งเว้าต่ำสุดของของเหลว ปริมาตรที่อ่านจะน้อยว่าปริมาตรจริง

ทักษะการใช้ขวดปริมาตร


ขวดปริมาตรเป็นเครื่องมือที่ใช้เตรียมสารละลายมาตรฐานหรือสารละลายที่เข้มข้นน้อยกว่าสารละลายเดิมได้ ขวดปริมาตรมีหลายขนาด เช่น ขนาด 50 มล. 100 มล. 250 มล. 500 มล. 1000 มล. 2000 มล. เป็นต้น
โดยทั่วไปจะนำสารละลายนั้นละลายในบีกเกอร์ก่อนแล้วเทลงในขวดปริมาตรโดยใช้กรวยกรอง จากนั้นเติมตัวทำละลายไปให้ปริมาตรถึงขีดบอกปริมาตร การเตรียมสารละลายโดยใช้ขวดปรับปริมาตรมีเทคนิคดังนี้
  1. ละลายสารในขวดปริมาตรมีประมาณ ? ของขวด ปิดจุกแล้วหมุนขวดปริมาตรด้วยข้อมือ
  2. เติมตัวทำละลายลงในขวดปริมาตรให้ส่วนโค้งเว้าต่ำสุดอยู่ตรงขีดบอกปริมาตร การต้องอ่านระดับสายตาในระดับเดียวกัน เพื่อป้องกันการอ่านปริมาตรผิด
  3. ปิดจุกขวดปริมาตรคว่ำขวดจากด้านบนลงล่าง ทำแบบนี้ 2 – 3 ครั้ง เพื่อให้สารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
  4. จากข้อ 3 กลับขวดปริมาตรอยู่ลักษณะเดิม จับคอขวดหมุนไปมา ? รอบ เพื่อให้สารละลายเป็นเนื้อเดียวกัน      ที่มา http://www.envi.cmru.ac.th/instrument/chapter1_t4.html

ชาวบ้านอ.บ้านแพ้วร้องมีผู้ลักลอบทิ้งตะกรันอะลูมิเนียม หวั่นสารพิษ ชาวบ้านในอำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร ร้องเรียนกับฝ่ายปกครองว่า มีผู้...